วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วัฎจักรแห่งการเรียนรู้ 4 MAT

มัสนา ตุ่มอ่อน (https://sites.google.com/site/muttanatumoon/wad-cakr-haeng-kar-reiyn-ru-4-mat) ได้รวบรวมวัฎจักรแห่งการเรียนรู้  4 MATไว้ว่า วัฎจักรแห่งการเรียนรู้ ( 4 MAT ) สร้างขึ้นโดยใช้วงกลมเป็นสัญลักษณ์ แทนการเคลื่อนไหวของกิจกรรมการเรียนรู้ พื้นที่ของวงกลม ถูกแบ่งออกโดยเส้นแห่งการเรียนรู้ และเส้นแห่งกระบวนการจัดข้อมูลรับรู้เป็นสี่ส่วน กำหนดให้แต่ละส่วนใช้แทนกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ลักษณะดังนี้
ส่วนที่ 1 คือ บูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของตน ใช้คำถามเป็นคำถามนำกิจกรรมคือ ทำไม (Why)
ส่วนที่ 2 คือ สร้างความคิดรวบยอด คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมส่วนนี้คือ อะไร (What)
ส่วนที่ 3 คือ ปฏิบัติและเรียนรู้ตามลักษณะเฉพาะตัว คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมส่วนนี้คือ
ทำอย่างไร (How)
ส่วนที่ 4 คือ บูรณาการประยุกต์กับประสบการณ์ของตน คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมส่วนนี้คือ ถ้า ( If)
การเรียนรู้แบบ 4 MAT
การเรียนรู้แบบ 4MAT: การจัดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
การสอนแบบ 4 MAT System เป็นการสอนในรูปแบบที่เริ่มมีคนใช้มากขึ้นเพราะความสะดวกง่ายต่อความเข้าใจของครูมากกว่าทฤษฎีใดๆ ที่สำคัญคือ เป็นวิธีที่ผสมผสานกับกลยุทธ์อื่นได้เป็นอย่างดีเช่น อาจนำวิธีนี้มาใช้ร่วมกับการเรียนแบบสหร่วมใจ (Cooperative Learning) หรือแบบอื่นได้ด้วย ความไม่ยุ่งยากซับซ้อนและประสิทธิภาพของวิธีการสอนเช่นนี้ ทำให้เริ่มมีการวิจัยเพิ่มขึ้น มีบทความ หนังสือต่างๆ
มากมายกล่าวถึงการเรียนการสอนแบบนี้มากขึ้น จนในขณะนี้นักการศึกษาสำหรับเด็กปัญญาเลิศและนักการศึกษาทั่วไปรู้จักและเข้าใจมากขึ้น
แนวความคิดของ คอล์บ
คอล์บ พิจารณาดูว่าคนบางคนมีกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง (ActiveExperimentation) ขณะที่บางคนอาจถนัดเรียนรู้โดยการสังเกตจากแหล่งต่างๆ แล้วสะท้อนกลับเป็นการเรียนรู้ (Reflective Observation) ซึ่งคนทั้งสองประเภทดังกล่าว เป็นผู้ที่มีลักษณะการเรียนรู้ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนเอื้ออำนวยแก่ผู้เรียนประเภทใดประเภทหนึ่งมากจนเกินไป จะทำให้ผู้เรียนอีกแบบหนึ่งขาดโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถได้อย่างเต็มศักยภาพ
ผู้เรียนแบบที่ 1 (Active Experimentation) จะเรียนรู้ได้ดีและเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ก็ต่อเมื่อเขาได้ลงมือกระทำ มือไม้แขนขาได้สัมผัสและเรียนรู้ควบคู่ไปกับสมองทั้งสองด้านสั่งการเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ทั้งเนื้อทั้งตัวที่ต้องผ่านประสาทสัมผัสอื่นๆประกอบกัน
ผู้เรียนแบบที่ 2 (Reflective Observation) จะเรียนรู้โดยการผ่านจิตสำนึกจากการเฝ้ามองแล้วค่อยๆ ตอบสนอง
ผู้เรียนแบบที่ 3 (Abstract Conceptualization) จะเรียนรู้โดยใช้สัญญาณหยั่งรู้มองเห็นสิ่งต่างๆเป็นรูปธรรมแล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์จากการรับรู้ที่ได้มาเป็นองค์ความรู้
ผู้เรียนแบบที่ 4 (Concrete Experience) จะเรียนรู้ได้ดีต่อเมื่อผ่านการวิเคราะห์ การประเมินสิ่งต่างๆ โดยการเอาตัวเองเข้าไปพิสูจน์หรือโดยการใช้หลักเกณฑ์แห่งเหตุผลการเรียนรู้แบบ 4 MAT
ทั้ง 4 กลุ่ม ต่างมีจุดดีจุดเด่นคนละแบบ ซึ่งเป็นโครงสร้างทางกลไกทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีอยู่จริงในทุกโรงเรียนทั่วโลก ดังนั้นหน้าที่ของผู้เป็นครูย่อมต้องพยายามหาหนทางที่จะทำให้เกิดสภาวะสมดุลทางการเรียนรู้ให้ได้สภาวะสมดุล การสรรค์สร้างโอกาสให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันทั้งโครงสร้างทางสติปัญญากลไกทางการเรียนรู้หรือการทำงานของสมองแตกต่างกันให้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความสามารถของตนออกมา พร้อมทั้งรู้จักและสามารถนำวิธีการของเพื่อนคนอื่นมาปรับปรุงลักษณะการเรียนรู้ของตน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนให้ดีขึ้น
ดังนั้นในปี ค.ศ. 1980 แมคคาร์ธี จึงได้นำแนวคิดดังกล่าวของคอล์บ มาประยุกต์และพัฒนาเป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 แบบ (4 Types of students) ที่เรียกว่า 4 MAT* หรือ การจัดกิจกรรมการเรียนให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับระบบการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวา (แนวคิดของคลอ์บนี้ ได้รากฐานทฤษฎีมาจาก จอห์น ดิวอี้ เคิร์ท เลวิน และ ฌอง ปิอา เช่ต์)
* MAT แปลว่า เสื่อ การสาน หรือผสมผสาน ในที่นี้หมายถึง กิจกรรมการเรียนรู้ที่ผสมผสานกัน เพื่อเอื้อแก่ผู้เรียนทั้ง 4 แบบ
การเรียนรู้แบบ 4 MAT
แมคคาร์ธี ได้ขยายแนวคิดของคอล์บออกไปให้กว้างขึ้น โดยเสนอว่าผู้เรียนมีอยู่ 4 แบบหลักๆ ดังนี้
ผู้เรียนแบบที่ 1 (Type One Learner) ผู้เรียนถนัดการใช้จินตนาการ (Imaginative Learners)ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและความรู้สึก และสามารถประมวลกระบวนการเรียนรู้ได้ดียิ่งในภาวะที่ตนเองได้มีโอกาสเฝ้ามอง หรือการได้รับการสะท้อนกลับทางความคิดจากที่ต่างๆ สมองซีกขวาของพวกนี้ทำหน้าที่เสาะหาความหมายของสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ สมองซีกซ้ายขุดค้นเหตุผลและความเข้าใจจาก
การวิเคราะห์ เป็นพวกที่ชอบถามเหตุผล คำถามที่คิดจะพูดขึ้นมาเสมอๆ คือ ทำไม” “ทำไม หรือ Why?ผู้เรียนที่อยู่ในรูปแบบนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าทำไมพวกเขาต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วจะเกี่ยวข้องกับตัวเขาหรือสิ่งที่เขาสนใจอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องค่านิยม ความเชื่อ ความคิด คตินิยม ความรู้สึก ชอบขบคิดปัญหาต่างๆค้นหาเหตุผล และสร้างความหมายเฉพาะของตนเอง ผู้เรียนเช่นนี้จะต้องหาเหตุผลที่จะต้องเรียนรู้ก่อนสิ่งอื่นๆ จะเรียนรู้ได้ดีหากมีการถกเถียง อภิปราย โต้วาที กิจกรรมกลุ่ม การใช้การเรียนแบบสหร่วมใจ ครูต้องให้เหตุผลก่อนเรียนหรือระหว่างการเรียน
ผู้เรียนแบบที่ 2 (Type Two Learner) ผู้เรียนถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners) จะรับรู้ในลักษณะรูปธรรมและนำสิ่งที่รับรู้มาประมวลกลไกหรือกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะของการมองสังเกตสมองซีกขวาเสาะหาประสบการณ์ที่จะสามารถผสมผสานการเรียนรู้ใหม่ๆ และต้องการความแจ่มกระจ่างในเรื่องคำตอบขององค์ความรู้ที่ได้มา ในขณะนี้สมองซีกซ้ายมุ่งวิเคราะห์จากความความรู้ใหม่เป็นพวกที่ชอบถามว่าข้อเท็จจริง คำถามที่สำคัญที่สุดของเด็กกลุ่มนี้ คือ อะไร หรือ What? ผู้เรียนแบบนี้ชอบการเรียนรู้แบบดั้งเดิม ต้องการศึกษาหาความรู้ ความจริง ต้องการข้อมูลที่เหมาะสม ถูกต้อง แม่นยำโดยอาศัยข้อเท็จจริง ข้อมูล ข่าวสาร มีความสามารถสูงในการนำความรู้ไปพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด(Concept) ทฤษฎีหรือจัดระบบหมวดหมู่ของความคิดได้อย่างดี เด็กกลุ่มนี้เรียนรู้โดยมุ่งเน้นรายละเอียดข้อเท็จจริงความถูกต้องแม่นยำ จะยอมรับนับถือเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้จริง หรือผู้มีอำนาจสั่งการเท่านั้น เด็กกลุ่มนี้จะเรียนอะไรต่อเมื่อรู้ว่าจะต้องเรียนอะไร และอะไรที่เรียนได้ สามารถเรียนได้ดีจากรูปธรรมไปสู่ความคิดเชิงนามธรรม การจัดการเรียนการสอนให้เด็กกลุ่มนี้จึงควรใช้วิธีบรรยายและการทดลอง การวิจัยหรือการทำรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
ผู้เรียนแบบที่ 3 (Type Three Learner) ผู้เรียนถนัดใช้สามัญสำนึก (Commonsense Learners) รับรู้โดยผ่านจากกระบวนความคิดและสิ่งที่เป็นนามธรรม แต่การประมวลความรู้นั้น ผู้เรียนประเภทนี้จะต้องการการทดลอง หรือกระทำจริง สมองซีกขวามองหากลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์ความรู้ไปสู้การนำไปใช้ ในขณะที่สมองซีกซ้าย มองหาสิ่งที่จะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมคำถามยอดนิยมของกลุ่มนี้ คือ อย่างไร หรือHow? ผู้เรียนแบบนี้สนใจกระบวนการปฏิบัติจริงและทดสอบทฤษฎีโดยการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยการวางแผนจากข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่เป็นนามธรรมมาสร้างเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ใครเขาทำอะไรไว้บ้างแล้วหนอ เด็กกลุ่มนี้ต้องการที่จะทดลองทำ
บางสิ่งบางอย่าง และต้องการที่จะฝึกปฏิบัติและต้องการเป็นผู้ปฏิบัติ (ถ้าครูยืนบรรยายละก็ เด็กพวกนี้จะหลับเป็นพวกแรก) พวกเขาใฝ่หาที่จะทำ สิ่งที่มองเห็นแล้วว่าเป็นประโยชน์และตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นสามารถใช้ได้ในโลกแห่งความจริงหรือไม่ พวกเขาสนใจที่จะนำความรู้มาสู่การปฏิบัติจริงและอยากรู้ว่าถ้าจะทำสิ่งนั้น สิ่งที่ทำได้ ทำได้อย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนที่ดีที่สุด คือ การทดลองให้ปฏิบัติจริง ลอง
ทำจริง
ผู้เรียนแบบที่ 4 (Type Four Learner) ผู้เรียนที่สนใจค้นพบความรู้ด้วยตนเอง (Dynamic Learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมและผ่านการกระทำ สมองซีกขวาทำงานในการถักทอความคิดให้ขยายกว้างขวางยิ่งขึ้น ในขณะที่สมองซีกซ้ายเสาะหาการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนและโดดเด่นขึ้น เป็นพวกที่ชอบตั้งเงื่อนไข คำถามที่ผุดขึ้นในหัวใจของเด็กกลุ่มนี้บ่อยๆ คือ ถ้าอย่างนั้น
ถ้าอย่างนี้” “ถ้า……” หรือ IF ? ผู้เรียนแบบนี้ชอบเรียนรู้โดยการได้สัมผัสกับของจริง ลงมือทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ และค้นพบความรู้ด้วยตัวเอง ชอบรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลเป็นความรู้ใหม่ เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถที่จะมองเห็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นรูปแบบของความคิดที่แปลกใหม่เพื่อตนเองหรือผู้อื่น เด็กกลุ่มนี้จะมองเห็นอะไรที่
ซับซ้อนและลึกซึ้ง มีความซับซ้อน จะเรียนได้ดีที่สุดโดยใช้วิธีการสอนแบบค้นพบด้วยตนเอง (Self Discovery Method)ผู้คิดทฤษฎีนี้เชื่อว่า เราจำเป็นต้องสอนเด็กโดยใช้วิธีการสอนทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว 4 อย่างเท่าๆ กัน เพราะทักษะทางธรรมชาติของผู้เรียนทั้ง 4 อย่างเป็นสิ่งที่เราต้องการ ในชั้นเรียนหนึ่งๆ นั้น มักจะมีผู้ถนัดการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบ อยู่รวมกัน ดังนั้นครูจำเป็นต้องใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมทั้ง 4 แบบ อย่าง
เสมอภาคกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานตามรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนถนัด จากการหมุนเวียนรูปแบบการสอนทั้ง 4 อย่างนี้ ทำให้นักเรียนมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถด้านอื่นที่ตนไม่ถนัดด้วยวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งยังมีโอกาสที่จะได้แสดงความสามารถอย่างน้อย ร้อยละ25 ของเวลาที่ท้าทายพวกเขาส่วนเวลาที่เหลืออาจไม่เป็นที่ต้องใจเท่าไรในการจัดแผนการสอนแบบ 4 MAT นั้น ครูต้องเข้าใจการทำงานและความถนัดของสมองส่วนบนที่แบ่งเป็นซีกซ้ายกับซีกขวาของมนุษย์ กล่าวคือ สมองซีกซ้ายจะถนัดในเรื่องรายละเอียด ภาษาความจำ การจัดลำดับ วิเคราะห์ และเหตุผล ส่วนสมองซีกขวาถนัดในเรื่องการมองภาพรวมจินตนาการ อารมณ์ความรู้สึก การเคลื่อนไหว มิติสัมพันธ์ ศิลปะ และสุนทรียภาพ โดนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องดำเนินสลับกันไปเพื่อให้สมองทั้งสองซีกได้ทำงานอย่างสมดุล
ลำดับขั้นของการสอน
เราเริ่มที่ส่วนบนสุดของวงจรโดยเริ่มจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม (Concrete Experience)และหมุนตามเข็มนาฬิกาไปรอบๆ ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมเป็นจุดเริ่มต้นเนื่องจากความสามารถทางสอน ควรเริ่มจากประสบการณ์ของนักเรียนแล้วครูก็พัฒนาทักษะพื้นฐานของนักเรียนให้เป็นรูปแบบของพัฒนาความคดรวบยอดแบบนามธรรม นักเรียนจะต้องถูกถามว่า อะไรที่พวกเขาต้องเรียน ต้องรู้จัก และจัดกระบวนการที่ใหม่กว่า เข้มข้นกว่าและปฏิบัติได้อย่างก้าวหน้าตามธรรมชาติ เด็กได้ใช้สามัญสำนึกและความรู้สึก เด็กได้ประสบการณ์และได้เฝ้ามองจ้องดู แล้วตอบสนองกลับ จากนั้นเด็กก็นำไปพัฒนาความคิดพัฒนาทฤษฎี นำมาเป็นความคิดรวบยอดและทดลองทฤษฎีของเขา และเขาก็จะได้รับประสบการณ์ ท้ายสุดเราได้นำเอาสิ่งที่เราได้เรียนรู้ไปใช้ประยุกต์กับประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันทำให้เราฉลาดขึ้นโดยการใช้ประสบการณ์เก่าประยุกต์ประสบการณ์ใหม่
การจัดกิจกรรมการสอน

แมคคาร์ธี เสนอแนวทางการพัฒนาวงจรการสอนให้เอื้อต่อผู้เรียนทั้ง 4 แบบ โดยกำหนดวิธีการใช้เทคนิคพัฒนาสมองซีกซ้ายซีกขวา กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้จะหมุนวนตามเข็มนาฬิกาไปจนครบทั้ง 4 ช่วง 4 แบบ (Why - What - How - If) แต่ละช่วงจะแบ่งเป็น 2 ขั้น โดยจะเป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้สมอง ทั้งซีกซ้ายและขวาสลับกันไป ดังนั้นขั้นตอนการเรียนรู้จะมีทั้งสิ้น 8 ขั้นตอนดังนี้
ช่วงที่ 1 แบบ Why? / สร้างประสบการณ์เฉพาะของผู้เรียน
ขั้นที่ 1 (กระตุ้นสมองซีกขวา) สร้างประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา โดยครูสร้างประสบการณ์จำลอง ให้เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสร้างเป็นความเหมายเฉพาะของตนเอง
ขั้นที่ 2 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) วิเคราะห์ไตร่ตรองประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจากการจัด
กิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย โดยครูให้นักเรียนคิดไตร่ตรอง วิเคราะห์ประสบการณ์จำลองจากกิจกรรม
ขั้นที่ 1
ในช่วงที่ 1 นี้ครูต้องสร้างบรรยากาศให้นักเรียนเกิดความใฝ่รู้ และกระตือรือร้นในการหาประสบการณ์ใหม่อย่างมีเหตุผล และแสวงหาความหมายด้วยตนเอง ฉะนั้น ครูต้องใช้ความพยายามสรรหากิจกรรมเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว
ช่วงที่ 2 แบบ What? / พัฒนาความคิดรวบยอดของผู้เรียน
ขั้นที่ 3 (กระตุ้นสมองซีกขวา) สะท้อนประสบการณ์เป็นแนวคิด การเรียนรู้เกิดจากการจัด
กิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา โดยครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้รวบรวมประสบการณ์และความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานของแนวคิด หรือความคิดรวบยอด[คำไม่พึงประสงค์]ย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เช่น การสอนให้ผู้เรียนเข้าใจลึกซึ้งถึงแนวคิดของการใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ ครูต้องหาวิธีอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างแจ้งชัด ว่าอักษรตัวใหญ่ที่ใช้นำหน้าคำนามในภาษาอังกฤษ เพื่อเน้นถึงความสำคัญของคำนั้นๆ อาจยกตัวอย่าง เช่น ชื่อคนชื่อเมือง หรือชื่อประเทศ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) พัฒนาทฤษฎีและแนวคิด การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อ
พัฒนาสมองซีกซ้าย ครูให้นักเรียนวิเคราะห์และไตร่ตรองแนวคิดที่ได้จากขั้นที่ 3 และถ่ายทอดเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดที่ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวคิดนั้นๆ ต่อไป พยายามสร้างกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในช่วงที่ 2 ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้คิด เพื่อให้ผู้เรียนที่ชอบการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง สามารถปรับประสบการณ์และความรู้ สร้างเป็นความคิดรวบยอดในเชิงนามธรรม โดยฝึกให้ผู้เรียนคิดพิจารณาไตร่ตรองความรู้ที่เกี่ยวข้อง ในช่วงนี้เป็นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ความรู้โดยการคิดและฝึกทักษะในการค้นคว้าหาความรู้
ช่วงที่ 3 แบบ How? / การปฏิบัติและการพัฒนาแนวคิ[คำไม่พึงประสงค์]อกมาเป็นการกระทำ
ขั้นที่ 5 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) ดำเนินตามแนวคิด และลงมือปฏิบัติหรือทดลอง การเรียนรู้เกิด
จากการจัดกิจกรรมพัฒนาสมองซีกซ้าย เช่นเดียวกับขั้นที่ 4 นักเรียนเรียนรู้จากการใช้สามัญสำนึก ซึ่งได้
จากแนวคิดพื้นฐาน จากนั้นนำมาสร้างเป็นประสบการณ์ตรง เช่น การทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือการทำ
แบบฝึกหัดเพื่อส่งเสริมความรู้ และได้ฝึกทักษะที่เรียนรู้มาในช่วงที่ 2
ขั้นที่ 6 (กระตุ้นสมองซีกขวา) ต่อเติมเสริมแต่ง และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้เกิด
จากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา นักเรียนเรียนรู้ด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหา ค้นคว้า
รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ในช่วงที่ 3 ครูมีบทบาทเป็นผู้แนะนำ และอำนวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้
ช่วงที่ 4 แบบ If? / เชื่อมโยงการเรียนรู้จากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง จนเกิดเป็นความรู้ที่ลุ่มลึก
ขั้นที่ 7 (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) วิเคราะห์แนวทางที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็น
แนวทางสำหรับการเรียนรู้เพิ่มเติมต่อไป การเรียนรู้เกิดจากการจัด กิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกซ้ายนักเรียนนำสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ โดยนักเรียนเป็นผู้วิเคราะห์และเลือกทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 8 (กระตุ้นสมองซีกขวา) ลงมือปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจาก
การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา นักเรียนคิดค้นความรู้ด้วยตนเองอย่างสลับซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นความคิดที่สร้างสรรค์ จากนั้นนำมาเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในช่วงที่ 4 ครูมีบทบาทเป็นผู้ประเมินผลงานของนักเรียน และการกระตุ้นให้นักเรียนคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆหลายคนอาจยังมองไม่เห็นภาพลำดับขั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT เพื่อความเป็นรูปธรรมชัดเจน ต่อไปจะยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมการสอนในแบบดังกล่าวที่กระทำจริงในโรงเรียน เพื่อให้มองเห็นภาพการจัดกิจกรรมเด่นชัดยิ่งขึ้น
อัจฉรา ไทยเจริญ (https://www.gotoknow.org/posts/219734)  ได้รวบรวมข้อมูลวัฎจักรแห่งการเรียนรู้  4 MATไว้ว่า “ การเรียนรู้แบบ 4 MAT   เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักเรียนเรียนรู้โดยใช้สมองซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุลย์ รู้จักคิด วิเคราะห์ ปฏิบัติจริง นักเรียนจึงเรียนรู้อย่างมีความสุข

เราทุกคนเกิดมาพร้อมกับ "สมองเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมชิ้นหนึ่ง
ประสิทธิภาพนั้นพูดได้ว่ามหัศจรรย์ทีเดียว  มนุษย์ให้ความสนใจเรื่องสมองมานานแล้ว ย้อนกลับไปประมาณสี่ร้อยปีก่อนคริสตกาล ท่านไฮโปรเครดิส (Hipprocrates) ปราชญ์ชาวกรีกได้สังเกตว่าทหารที่ได้รับบาดเจ็บตรงศีรษะซีกขวาจะมีปัญหาในการควบคุมอวัยวะซีกซ้ายของร่างกาย และกลับกันสำหรับผู้ที่ศีรษะซีกซ้ายได้รับบาดเจ็บ จะมีปัญหาในการควบคุมอวัยวะซีกขวา นั่นคือเราต้องเข้าใจถึงการทำงานของสมองส่วนบนทั้งซีกซ้ายและซีกขวาแล้วทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองทั้งสองซีก ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเต็มศักยภาพในที่สุด

สมอง….. เป็นเช่นนั้นจริงหรือ
ในปี ค..1972 นายแพทย์โรเจอร์ สเปอร์ (Dr. Roger Sperry) ศัลยแพทย์ทางประสาท จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ได้รับรางวัลโนเบลจากการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้งสองซีก ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่า สมองสองซีกจะมีความถนัดในเรื่องต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน โดยอธิบายว่าสมองซีกซ้ายจะมีศักยภาพเกี่ยวกับภาษา การฟัง ความจำ การวิเคราะห์ เหตุผล การจัดลำดับ การคิดคำนวณ สัญลักษณ์ เหตุผลเชิงตรรกและวิทยาศาสตร์ ส่วนสมองซีกขวาจะมีศักยภาพเกี่ยวกับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ ความรู้สึกรับรู้ภาพรวม การรับรู้ทางประสาทสัมผัส ศิลปะ สุนทรี รูปทรง รูปแบบสี ดนตรี มิติสัมพันธ์และการเคลื่อนไหว
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจมีการเปรียบเทียบการทำงานของสมองซีกซ้ายเหมือนกับการมองต้นไม้ต้นเดียว ส่วนการทำงานของสมองซีกขวาเหมือนกับการมองป่าทั้งป่าเห็นเป็นภาพรวม
ดังนั้นถึงแม้ว่าบุคคลแต่ละคนจะมีความถนัดในการใช้สมองซีกใดซีกหนึ่งต่างกัน แต่ศักยภาพในการเรียนรู้ของมนุษย์นั้น ขึ้นอยู่กับการทำงานของสมองทั้งสองซีกอย่างสอดประสาน และการทำงานของสมองจะเปลี่ยนทุก ๆ 60 - 90 นาที ถ้าซีกหนึ่งทำงานดีอีกด้านหนึ่งจะจาง    จึงต้องมีการกระตุ้นให้เกิดความสมดุลย์ของสมองทั้งสองซีก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนรู้
ดังนั้นในการเรียนการสอน  ครูต้องเข้าใจถึงการทำงานของสมองส่วนบนทั้งซีกซ้ายและซีกขวาแล้วจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองทั้งสองซีก ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของผู้เรียนในที่สุด หากผู้สอนละเลยหรือใช้วิธีการซ้ำซาก ผู้เรียนจะเกิดความเบื่อหน่ายกับการเรียนและพยายามแยกตัวออกจากกลุ่ม   เพื่อไปแสวงหาสิ่งที่ตื่นเต้นภายนอกมาทดแทน
วิธีการที่จะทำให้การทำงานของสมองทั้งสองซีกมีความสอดประสานกันอย่างสมดุลย์ มีการยอมรับแล้วว่ามีอยู่จริง  หนึ่งในนั้นคือการจัดการเรียนรู้  แบบ 4 MAT  

4  MAT  กับ การทำงานของสมอง

ส่วนใหญ่เวลาที่เราเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษในงานวิชาการต่างๆ เรามักคิดว่าเป็นตัวย่อ จึงสืบหาคำเต็มว่าคืออะไร  แต่ไม่ใช่ในที่นี้  คำว่า  “ MAT ”  อ่านว่า  แมท  แปลเป็นไทยได้หลายอย่าง  แต่ที่ตรงกับเรื่องนี้แปลว่า ด้าน หรือแบบ  คำว่า 4 MAT   ก็คือ สี่ด้าน  หรือ   สี่แบบ   ซึ่งมีที่มาจากนักการศึกษาชาวตะวันตก  เริ่มด้วยเดวิด  คอล์บ ( David Kolb )   เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์  2  มิติ  คือการรับรู้  และกระบวนการ  ต่อมา Kolb ยังพบว่ากระบวนการเรียนรู้ของบางคนเป็นกระบวนการที่เกิดจากการลงมือปฎิบัติ  ในขณะที่บางคนเรียนรู้ผ่านกระบวนการสังเกต หรือการรับรู้ข้อมูลพร้อม ๆ กับนำมาคิดไตร่ตรอง  และจากจุดตัดของหนทางการรับรู้สองแบบกับช่องทางของกระบวนการทำให้ Kolb มองเห็นความแตกต่างของการเรียนรู้ถึง  4  แบบตามพื้นที่ที่ถูกแบ่งด้วยเส้นตรง แห่งการเรียนรู้และเส้นตรงแทนกระบวนการของการรับรู้   จึงได้เรียกชื่อวิธีการเรียนรู้นี้ว่า  4  MAT    ซึ่งต่อมา เบอรนีส แมคคาร์ธี  (Bernice Mccarthy) ได้ประยุกต์ความคิดของ Kolb  โดยนำความคิดเรื่องบทบาทของสมองซีกซ้ายและซีกขวามาพัฒนาเป็นแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน  4  แบบ  ดังนี้  
ผู้เรียนแบบที่ 1  คือผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ (Imaginative learners) มี 2 ขั้นตอนย่อย คือขั้นสร้างประสบการณ์  (สมองซีกขวา) และขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์(สมองซีกซ้าย) 
ผู้เรียนแบบที่ 2   คือผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners) มี 2 ขั้นตอนย่อย คือขั้นปรับประสบการณ์เดิมเข้าสู่ความคิดรวบยอด  (สมองซีกขวา) และขั้นทฤษฎีความคิดรวบยอด(สมองซีกซ้าย) 
       ผู้เรียนแบบที่ 3  คือผู้เรียนที่ถนัดใช้สามัญสำนึก (Common Sense Learners) มี 2 ขั้นตอนย่อย คือขั้นทบทวนฝึกปฏิบัติ  (สมองซีกซ้าย)  และขั้นวางแผนและสร้างผลงาน (สมอง
ซีกขวา)  
                   ผู้เรียนแบบที่ 4  คือผู้เรียนที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Dynamic Learners) มี 2 ขั้นตอนย่อย  คือขั้นวิเคราะห์ชิ้นงาน  (สมองซีกซ้าย) และขั้นนำเสนอและแลกเปลี่ยน (สมองซีกขวา)  
  จะเห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ แบบ 4 MAT จะเริ่มต้นจากการใช้ความรู้สึกรับรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนและมีจินตนาการเกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเป็นการใช้สมองซีกขวาและในขั้นสุดท้ายก็จบลงด้วยความรู้สึกอันเป็นกิจกรรมของสมองซีกขวาเช่นกัน แต่เป็นความรู้สึกที่แตกต่างกันมากเนื่องจากตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนถึงขั้นสุดท้าย ผู้เรียนได้ผ่านกระบวนการแสวงหาความรู้ ทักษะ ความคิดและการลงมือทำเพื่อสร้างผลงานแห่งการเรียนรู้ของตนเองอย่างหลากหลาย วงกลมแห่งการเรียนรู้นี้จึงสามารถเคลื่อนต่อไปได้อย่างไม่รู้จบด้วยตนเองของผู้เรียนเองภายใต้จังหวะ ขวา - ซ้าย - ขวา - ซ้าย - ซ้าย - ขวา - ซ้าย – ขวา  หมุนเวียนเป็นวัฎจักร ดังนั้นเมื่อนำมาใช้ในประเทศไทย  บางคนจึงใช้ชื่อว่าการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้

เมื่อ 4 MAT เดินทางถึง….. นครศรีธรรมราช

      ระยะเริ่มต้น
ผู้บริหาร  ผู้สอน  และผู้ที่เกี่ยวข้อง หลายต่อหลายคนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ  มีความเห็นว่า ศึกษานิเทศก์น่าจะช่วยได้ ผู้เขียนซึ่งเป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มหลักสูตรและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  มีความสนใจรูปแบบการเรียนรู้ แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT) เป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว  จึงรับหน้าที่ทำการศึกษาว่า  การเรียนรู้ แบบ4 MAT จะบังเกิดขึ้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1  หรือไม่   โดยตั้งวัตถุประสงค์ ว่าเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบวัฎจักรการเรียนรู้ (4 MAT)  และเพื่อศึกษาผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้
  การศึกษาเริ่มต้นจากการเขียนโครงการเพื่อวางแผนการทำงานให้กระชับ  รัดกุม  และมีทิศทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน  แล้วรับสมัครครูกลุ่มเป้าหมาย  โดยจัดทำเป็นหนังสือราชการแจ้งให้โรงเรียนทุกโรงทราบ  หากมีครูคนใดสนใจสมัครเข้ารับการพัฒนาตามโครงการนี้ให้กรอกใบสมัครตามแบบที่กำหนด ส่งได้ไม่จำกัดจำนวนหลังจากนั้นจึงคัดเลือกครูกลุ่มเป้าหมายเข้าโครงการ  แล้วประชุมชี้แจงวิธีการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นโครงการจนเข้าใจอย่างชัดเจน   จึงให้ครูทำข้อตกลงในการปฏิบัติงานตามปฏิทินที่กำหนดไว้โดยไม่ละทิ้งงานกลางคัน  ถัดจากนั้นได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเขียนแผนการเรียนรู้แบบ 4 MAT   โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรให้ความรู้  แก่ครูกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  12  คน  ซึ่งหลักสูตรในการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้  มีเนื้อหาสาระในเรื่องสมองกับการเรียนรู้  และการเรียนรู้แบบ 4 MAT   โดยมีการฝึกปฏิบัติการเขียนแผนการเรียนรู้จนเข้าใจอย่างถ่องแท้ทุกคน
              ระยะปฏิบัติการ
ต่อจากนั้นครูกลุ่มเป้าหมายนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติการเขียนแผนการเรียนรู้ แบบ
4 MAT   และทดลองใช้กับนักเรียนในชั้นเรียนของตน   ในระยะเวลา  1  ภาคเรียน  ในระหว่างนี้มีกิจกรรมนอกแผนคือจัดศึกษาดูงาน  โดยไปศึกษาดูงานการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT      โรงเรียนสมถวิล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   ส่วนกิจกรรมปกติก็มีการนิเทศติดตามผล  เป็นระยะๆ  โดยผู้เขียนซึ่งรับผิดชอบโครงการนี้อยู่  ทำการนิเทศแบบตัวต่อตัว เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแผนการสอน    และตรวจสอบรายงานผลการสอน    นอกจากนั้นยังมีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการ  ตามความสะดวก และความต้องการของครูผู้เข้าโครงการแต่ละคน และหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้วยังมีกิจกรรมเสริมคือไปสรุปผลอย่างไม่เป็นทางการนอกสถานที่อีก 1 วัน 
ระยะประเมินงาน
ในช่วงระยะใกล้จะเสร็จสิ้นโครงการ  ผู้เขียนได้ออกไปเก็บข้อมูลความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ แบบ4 MAT  ณ โรงเรียนทดลอง     ซึ่งผู้ที่ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน  เพื่อนครูในโรงเรียน  นักเรียน  และผู้ปกครองนักเรียน (บางคน)ในชั้นเรียนนั้นๆ    สิ่งที่พบและประทับใจมาก คือ  นักเรียนในชั้นเรียนอื่นๆ ชอบมามุงดู  และอยากเรียนแบบนั้นบ้าง   ทำให้คิดได้ว่าการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่นี้   โดยการทดลองใช้เพียงชั้นเรียนเดียว   ของครูผู้สอนเพียงคนเดียวในโรงเรียน  ทำให้ไม่สามารถบ่งบอกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมของชั้นหรือของโรงเรียนได้ว่าเพิ่มขึ้นเพราะการใช้รูปแบบการเรียนรู้นี้   
ระยะเก็บเกี่ยวผล
สิ่งเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม คือครูกลุ่มเป้าหมาย เขียนแผนการเรียนรู้แบบ 4 MAT ได้ถูกต้อง ทุกคน  และรายงานผลการสอนอย่างเป็นทางการในรูปเล่มตามแบบรายงานการวิจัยทั่วไป จำนวน 8  คน จากทั้งหมด 12 คน   คนที่ไม่ได้ส่งเล่มรายงานผลอีก 4 คน เนื่องจากไม่สันทัดในการเขียนรายงานผลแบบงานวิจัย  แต่สามารถเขียนบันทึกผลหลังสอน บอกปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น  พร้อมทั้งข้อเสนอแนะได้  ส่วนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 1  ได้รวบรวมแผนการเรียนรู้แบบ  4 MAT    ของครูผู้สอนที่เข้าโครงการทุกคน  นำมาจัดพิมพ์รวมเล่ม  และแจกจ่ายเพื่อเผยแพร่แก่โรงเรียนอื่น ๆ ในสังกัดทุกโรง  และยังได้เผยแพร่ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใกล้เคียงอีกด้วย
 ผลงานที่สามารถจับต้องได้อีกชิ้นหนึ่ง คือรายงานผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ 4 MATในระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ซึ่งได้ตอบคำถามผลการศึกษาในครั้งนี้ว่า ครูสามารถจัดทำแผนการเรียนรู้แบบ 4 MAT ได้อย่างมีคุณภาพในระดับมากร้อยละ 100   และความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน  และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
   จากการปฏิบัติงานอย่างตั้งใจ    ผู้เขียนได้ค้นพบว่า การให้ครูได้ทำงานโดยสมัครใจ   และชี้แจงวิธีการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นให้ทราบอย่างชัดเจน    การนิเทศแบบตัวต่อตัวรวมทั้งการติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ  จะทำให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย   ส่วนที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นคือ  การละเลยการติดตามผล และช่วยเหลือครูที่ด้อยศักยภาพให้เขาทำงานจนสำเร็จ   ถึงแม้ว่าจะเสร็จสิ้นโครงการไปแล้ว   
ในการทำงานต่อไปข้างหน้า  สำหรับผู้เขียนแล้วคิดว่าหากมีครูท่านใดที่ทำงานไม่สำเร็จตามเวลาที่กำหนด  เราต้องช่วยเหลือให้ครูบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของงานให้จนได้  และอีกประการหนึ่งคือ  ควรดำเนินงานโครงการนี้โดยให้ครูทุกคนเข้าร่วมโครงการทั้งโรงเรียน   เพราะเมื่อประเมินผลการเรียนแล้ว  จะสามารถบอกได้ว่าผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้นเกิดจากการจัดการเรียนรู้รูปแบบ  4 MAT  นี้   และที่สำคัญที่สุดนักเรียนทุกคนในโรงเรียนมีโอกาสใช้สมองซีกซ้ายและ
ซีกขวาอย่างสมดุลย์ รู้จักคิด วิเคราะห์  ได้ฝึกปฏิบัติจริงอย่างสนุกสนาน ได้นำเสนอผลงานด้วยความชื่นชม      คาดว่าพวกเขาคงมีความสุขกับการเรียนมากขึ้นอย่างแน่นอน

            สุรเดช  ภาพันธ์ (
http://d8899.blogspot.com/2013/05/4-mat_4.html) ได้รวบรวมข้อมูลวัฎจักรแห่งการเรียนรู้  4 MATไว้ว่า ลักษณะของนวัตกรรมการเรียนการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้  4 MAT ในหัวข้อนี้จะเป็นการแสดงความคิดเห็นถึงข้อดีข้อด้อยของนวัตกรรม
ข้อดี   
            หากจะกล่าวถึงของดีของการเรียนการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้  4 MAT  คงจะต้องกล่าวว่านวัตกรรมนี้ มีความสามารถในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนที่แตกต่างกันให้ได้ใช้สมองในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ส่วน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ได้อย่างเต็มที่ และ ในการเรียนการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้  4 MAT นี้ยังมุ่งให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความรู้และความเข้าใจที่เท่าเทียมกัน และยังผู้สอนนั้นยังจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ออกแสดงความคิดเห็นและข้อชี้แจงต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ ดังที่กล่าวมาการที่ผู้สอนเปิดโอกาสแก่ผู้เรียน ยังเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมความคิดและมุมมองตลอดจนวิธีคิดของนักเรียนให้กว้างไกลและทันสมัย
ข้อด้อย
            ต่อจากท้ายประโยคของข้อดี  ข้อด้อยของการเรียนการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้  4 MAT นั้นก็คือการล่าช้าของการเรียนรู้  เมื่อผู้สอนให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นการควบคุมเวลาในการใช้ในการเรียนการสอนจึงเป็นไปได้ยาก ผู้ที่จะใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้  4 MAT ต้องคำนึงถึงหลักการนี้ด้วย จริงอยู่ที่นวัตกรรมนี้มีข้อดีและทันสมัย แต่ข้อเสียหรือข้อด้อยของนวัตกรรมก็ยังมีอยู่ หากจะกล่าวคงต้องกล่าวถึงเรื่องของช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้ที่ต้องล่าช้าไม่ทันการณ์ และอย่างที่สอง คือแนวคิดหรือเนื้อหาที่เรียนจะมีการออกนอกประเด็น หากผู้สอนไม่มีความสามารถในการดึงหรือเชื่อมโยงปัญหาเข้ามาก็จะเป็นการยากต่อการเรียนการสอนในลำดับต่อไป  พร้อมทั้งหากผู้สอนหรือผู้ที่สนใจนวัตกรรมนี้สังเกตให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นการยากที่ผู้เรียนทุกลักษณะจะสามารถปรับเปลี่ยนและประยุกต์ให้เข้าเหมาะสมกับนวัตกรรมได้ ดังนี้นวัตกรรมนี้จึงสามารถนำไปใช้ได้จริงได้เพียงไม่กี่ส่วน หรืออาจนำไปใช้ได้แต่กลุ่มผู้เรียนเป้าหมายในบางกลุ่มอาจไม่สำเร็จตามความประสงค์ของนวัตกรรม
            สรุป 
             วัฎจักรแห่งการเรียนรู้ ( 4 MAT ) สร้างขึ้นโดยใช้วงกลมเป็นสัญลักษณ์ แทนการเคลื่อนไหวของกิจกรรมการเรียนรู้ พื้นที่ของวงกลม ถูกแบ่งออกโดยเส้นแห่งการเรียนรู้ และเส้นแห่งกระบวนการจัดข้อมูลรับรู้เป็นสี่ส่วน กำหนดให้แต่ละส่วนใช้แทนกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ลักษณะดังนี้
แต่ละส่วนใช้แทนกิจกรรมการเรียนการสอน 4 ลักษณะดังนี้
ส่วนที่ 1 คือ บูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของตน ใช้คำถามเป็นคำถามนำกิจกรรมคือ ทำไม (Why)
ส่วนที่ 2 คือ สร้างความคิดรวบยอด คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมส่วนนี้คือ อะไร (What)
ส่วนที่ 3 คือ ปฏิบัติและเรียนรู้ตามลักษณะเฉพาะตัว คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมส่วนนี้คือ
ทำอย่างไร (How)
ส่วนที่ 4 คือ บูรณาการประยุกต์กับประสบการณ์ของตน คำถามที่เป็นคำถามนำกิจกรรมส่วนนี้คือ ถ้า ( If)
             การเรียนรู้แบบ 4MAT: การจัดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
             การสอนแบบ 4 MAT System เป็นการสอนในรูปแบบที่เริ่มมีคนใช้มากขึ้นเพราะความสะดวกง่ายต่อความเข้าใจของครูมากกว่าทฤษฎีใดๆ ที่สำคัญคือ เป็นวิธีที่ผสมผสานกับกลยุทธ์อื่นได้เป็นอย่างดีเช่น อาจนำวิธีนี้มาใช้ร่วมกับการเรียนแบบสหร่วมใจ (Cooperative Learning) หรือแบบอื่นได้ด้วย ความไม่ยุ่งยากซับซ้อนและประสิทธิภาพของวิธีการสอนเช่นนี้ ทำให้เริ่มมีการวิจัยเพิ่มขึ้น มีบทความ หนังสือต่างๆ
มากมายกล่าวถึงการเรียนการสอนแบบนี้มากขึ้น จนในขณะนี้นักการศึกษาสำหรับเด็กปัญญาเลิศและนักการศึกษาทั่วไปรู้จักและเข้าใจมากขึ้น
แนวความคิดของ คอล์บ
             การจัดการเรียนการสอนเอื้ออำนวยแก่ผู้เรียนประเภทใดประเภทหนึ่งมากจนเกินไป จะทำให้ผู้เรียนอีกแบบหนึ่งขาดโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถได้อย่างเต็มศักยภาพ
ผู้เรียนแบบที่ 1 (Active Experimentation) จะเรียนรู้ได้ดีและเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ก็ต่อเมื่อเขาได้ลงมือกระทำ มือไม้แขนขาได้สัมผัสและเรียนรู้ควบคู่ไปกับสมองทั้งสองด้านสั่งการเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ทั้งเนื้อทั้งตัวที่ต้องผ่านประสาทสัมผัสอื่นๆประกอบกัน
ผู้เรียนแบบที่ 2 (Reflective Observation) จะเรียนรู้โดยการผ่านจิตสำนึกจากการเฝ้ามองแล้วค่อยๆ ตอบสนอง
ผู้เรียนแบบที่ 3 (Abstract Conceptualization) จะเรียนรู้โดยใช้สัญญาณหยั่งรู้มองเห็นสิ่งต่างๆเป็นรูปธรรมแล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์จากการรับรู้ที่ได้มาเป็นองค์ความรู้
ผู้เรียนแบบที่ 4 (Concrete Experience) จะเรียนรู้ได้ดีต่อเมื่อผ่านการวิเคราะห์ การประเมินสิ่งต่างๆ โดยการเอาตัวเองเข้าไปพิสูจน์หรือโดยการใช้หลักเกณฑ์แห่งเหตุผลการเรียนรู้แบบ 4 MAT
             เบอรนีส แมคคาร์ธี  (Bernice Mccarthy) ได้ประยุกต์ความคิดของ Kolb  โดยนำความคิดเรื่องบทบาทของสมองซีกซ้ายและซีกขวามาพัฒนาเป็นแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน  4  แบบ  ดังนี้  
ผู้เรียนแบบที่ 1  คือผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ (Imaginative learners) มี 2 ขั้นตอนย่อย คือขั้นสร้างประสบการณ์  (สมองซีกขวา) และขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์(สมองซีกซ้าย) 
ผู้เรียนแบบที่ 2   คือผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners) มี 2 ขั้นตอนย่อย คือขั้นปรับประสบการณ์เดิมเข้าสู่ความคิดรวบยอด  (สมองซีกขวา) และขั้นทฤษฎีความคิดรวบยอด(สมองซีกซ้าย) 
       ผู้เรียนแบบที่ 3  คือผู้เรียนที่ถนัดใช้สามัญสำนึก (Common Sense Learners) มี 2 ขั้นตอนย่อย คือขั้นทบทวนฝึกปฏิบัติ  (สมองซีกซ้าย)  และขั้นวางแผนและสร้างผลงาน (สมอง
ซีกขวา)  
        ผู้เรียนแบบที่ 4  คือผู้เรียนที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Dynamic Learners) มี 2 ขั้นตอนย่อย  คือขั้นวิเคราะห์ชิ้นงาน  (สมองซีกซ้าย) และขั้นนำเสนอและแลกเปลี่ยน (สมองซีกขวา)  


            ที่มา

  • มัสนา ตุ่มอ่อน.[online]https://sites.google.com/site/muttanatumoon/wad-cakr-haeng-kar-reiyn-ru-4-mat. วัฎจักรแห่งการเรียนรู้ ( 4 MAT ) .สืบค้นเมื่อ วันที่21 สิงหาคม 2558.
  • อัจฉรา ไทยเจริญ.[online]https://www.gotoknow.org/posts/219734 . 4 MAT การเรียนรู้มหัศจรรย์ .สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 สิงหาคม 2558.
  • สุรเดช  ภาพันธ์ .[online]http://d8899.blogspot.com/2013/05/4-mat_4.html .ลักษณะของนวัตกรรมการเรียนการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้ 4 MAT .สืบค้นเมื่อ วันที่ 21 สิงหาคม 2558.