กมลรัตน์
หล้าสุวงษ์ (2528:129)ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้หมายถึง
กระบวนการที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร
ซึ่งเป็นผลจากการได้รับประสบการณ์หรือได้รับการฝึกฝน
มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ วุฒิภาวะ พิษยาต่างๆ
รวมทั้งอุบัติเหตุหรือความบังเอิญ
การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย
การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational
psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical
conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด
หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้
สุชา จันทน์เอม (2542:78) ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้คือกระบวนการเจริญงอกงามของอินทรีย์หรือพัฒนาการของอินทรีย์
ทำให้อินทรีย์สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น หรือปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ
ได้เป็นอย่างดี
สรุป การเรียนรู้หมายถึงกระบวนการที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร
ซึ่งเป็นผลจากการได้รับประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
หรือได้รับการฝึกฝน รวมทั้งการเพิ่มพูนความรู้ของผู้เรียน ไม่ใช่เกิดจากสัญชาตญาณ
หรือวุฒิภาวะ ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ
ได้ดีขึ้น หรือปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดี
ที่มา
- กมลรัตน์
หล้าสุวงษ์. (2528). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
- https://th.wikipedia.org/wiki. การเรียน . สืบค้นเมื่อวันพุธที่ 17
มิถุนายน 2558.
- สุชา
จันทร์เอม. (2542). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น